fbpx

ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน ep.1

ที่ดิน ยังคงเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า และเป็นที่นิยม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มทรัพย์สินให้กับผู้ครอบครองแล้ว มูลค่าของที่ดินมักมีโอกาสที่จะเพิ่มสูงขึ้น และทำกำไรให้กับผู้ครอบครองด้วย

แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้อาศัยอยู่ในไทย เนื่องจากไปใช้ชีวิตอยู่กับสามีและมีครอบครัวอยู่ต่างประเทศ แต่หากคุณเป็นคนสัญชาติไทยแล้ว คุณก็ยังคงมีสิทธิที่จะซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้ได้อยู่เสมอ และสามารถให้บุคคลอื่นจัดการซื้อขายที่ดินแทนคุณได้อีกด้วย

ในการซื้อที่ดิน ปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพ นำเอาโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาแอบอ้างเพื่อหลอกขายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น คุณจำเป็นต้องตรวจสอบประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. เจ้าของขาย – หากคุณซื้อที่ดินกับบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และหากบุคคลดังกล่าวไม่ใช่นายหน้า หรือรับมอบอำนาจจากเจ้าของจริง กรณีนี้คุณกำลังอาจถูกหลอกและสูญเงินไป และแม้ว่าจะมีหนังสือมอบอำนาจ หรือนำต้นฉบับโฉนดที่ดินมาแสดงให้แก่คุณ คุณก็ไม่อาจจะเชื่อถือได้ คุณยังจำเป็นต้องตรวจสอบกับเจ้าของที่ดินว่ามีการมอบอำนาจให้แก่บุคคลดังกล่าวหรือนายหน้าจริงหรือไม่
  2. ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินในผังเมือง – เป็นอีกสิ่งที่ต้องตรวจสอบ หากตำแหน่งผังเมืองอยู่ในตำแหน่งที่ใช้ประโยชน์ได้จำกัดหรือเฉพาะ ก็จะเป็นการซื้อที่ดินมาโดยเปล่าประโยชน์ อาทิ หากคุณประสงค์จะซื้อที่ดินที่สามารถประกอบการค้าได้ แต่ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินในผังเมืองกำหนดระบุห้ามให้ใช้เฉพาะอยู่อาศัย หรือใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเท่านั้น ย่อมทำให้คุณไม่อาจใช้ที่ดินได้ตามความประสงค์ เป็นต้น การตรวจสอบประเด็นนี้ คุณสามารถตรวจสอบผังเมืองได้จากเว็บไซต์ในราชกิจจานุเบกษา หรือเขต หรืออำเภอ ที่ตั้งของที่ดินได้
  1. ที่ดินอยู่ในระหว่างการมีข้อพิพาทหรือไม่ – หากที่ดินที่คุณสนใจจะซื้อกลับอยู่ในระหว่างข้อพิพาท ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐ หรือกับเอกชน ย่อมอาจทำให้คุณต้องได้รับความเดือดร้อนเป็นของแถมมากับทรัพย์สินโดยไม่ตั้งใจ ตัวอย่างข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐ อาทิ ที่ดินอยู่ในแนวเวนคืน เป็นต้น ตัวอย่างข้อพิพาทกับเอกชน อาทิ มีการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น
  2. สถานะของที่ดิน – ในประเด็นนี้ คุณจำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีว่าเจ้าของที่ดินได้ขายที่ดิน หรือโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้อื่นแล้วหรือยัง หรือที่ดินมีภาระผูกพันด้วย อาทิ อยู่ในระหว่างการจำนอง การขายฝาก หรือ ภาระผูกพันอื่น เป็นต้น โดยคุณสามารถตรวจสอบกับสำนักงานที่ดินจังหวัดนั้น ๆ
  3. ราคา – กฎหมายไทยไม่ได้กำหนดบังคับราคาขาย เป็นเรื่องที่ตกลงกันเองระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ แต่ในเบื้องต้นสามารถตรวจสอบราคาประเมินได้จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ และราคาตลาดจากเว็บไซต์ประกาศขายที่ดินทั่วไป ทั้งนี้ นอกจากพิจารณาราคาประเมินและราคาตลาดแล้ว ราคาซื้อขายที่ดินอาจมีการต่อรองได้จากผลของการตรวจสอบสถานะที่ดินตามข้อ 4.
  4. สถานที่ตั้งของที่ดิน – แม้การตรวจสอบข้อ 1. ถึง ข้อ 5. จะยืนยันได้ว่า ที่ดินดังกล่าวน่าสนใจที่จะซื้อ และไม่ใช่กรณีหลอกลวง แต่คุณยังจำเป็นต้องตรวจสอบสถานที่ตั้งของที่ดิน เพื่อดูสภาพที่ดินข้างเคียง เพื่อนบ้าน และตรวจสอบเรื่องระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น เรื่องระบบสาธารณูปโภค เป็นสิ่งสำคัญต่อราคาในการซื้อขายที่ดินอีกด้วย หากไม่มีระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ก็ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมเพื่อให้มีระบบสาธารณูปโภคด้วย
  5. สัญญาจะซื้อจะขาย – สัญญาจะซื้อจะขาย หากสัญญาที่พิจารณาเป็นเพียงแค่แบบฟอร์มที่มีอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจจะมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมหน้าที่และความรับผิดของผู้ขายครบถ้วนตามที่คุณต้องการ รวมถึงอาจไม่ได้กำหนดการรับประกันของผู้ขาย อาทิ การจัดการภาระผูกพันให้สิ้นไปก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์หรือชำระเงินส่วนที่เหลือ หรือ การรับประกันเรื่องพื้นที่ใช้ประโยชน์ว่าจะต้องมีสาธารณูปโภคให้ครบถ้วน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ประเด็นสำคัญข้างต้นเกี่ยวกับที่ดินมีหลายประการ มีความซับซ้อน และคุณอาจจะไม่มั่นใจว่าจะตรวจสอบได้ครบถ้วนหรือไม่ หากต้องการผู้ช่วย สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่เว็บไซต์พวกเรา Flawless นะคะ

โปรดติดตามใน ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน EP 2 กรณีหากสามีชาวต่างชาติสนใจซื้อที่ดินในประเทศไทย จะทำได้เพียงใด

You might also enjoy

ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน ep 2

หากสามีชาวต่างชาติสนใจซื้อที่ดินในประเทศไทย สามีชาวต่างชาติสามารถทำได้หรือไม่? เดิมประเทศไทยเคยให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินได้ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเคยผูกพัน แต่ภายหลังจากที่ประเทศไทยบอกเลิกสนธิสัญญากับต่างชาติไปเมื่อประมาณปี

share this post

Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

We strive to provide peace of mind, professionalism and price transparency

Your Preliminary legal orientation with us is free.