fbpx

พินัยกรรม กรรมของทายาท – EP 4

ใน พินัยกรรม กรรมของทายาท – EP 3 ได้อธิบายแบบพินัยกรรมธรรมดาทั้งตอน เพราะเป็นแบบที่ได้รับความนิยมที่สุด แต่ในกฎหมายไทย ยังมีแบบพินัยกรรมกำหนดอีก 2 รูปแบบ ดังนี้

  • แบบพินัยกรรม(ลับ) คือ ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์ให้เป็นเอกสารลับ โดยผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นผู้เขียนเองหรือให้บุคคลอื่นเขียนก็ได้ โดยต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ในพินัยกรรมและตรงรอยปิดของซองที่ใส่พินัยกรรมไว้ (ภาษากฎหมายใช้คำว่า “ผนึก” แทนการปิดของซอง) และต้องนำพินัยกรรมดังกล่าวไปแสดงต่อนายอำเภอ หรือนายทะเบียน และพยานอีกอย่างน้อยสองคน พร้อมทั้งให้ถ้อยคำยืนยันว่าเป็นพินัยกรรม และนายอำเภอ หรือนายทะเบียนจะต้องจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม บนซองพร้อมประทับตราตำแหน่ง นอกจากนี้ ต้องมีการลงลายมือชื่อของนายอำเภอ หรือนายทะเบียน ผู้ทำพินัยกรรม และพยาน บนซองดังกล่าวอีกด้วย
  • ถ้าพินัยกรรม ให้บุคคลอื่นเป็นผู้เขียน ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้นายอำเภอ หรือนายทะเบียนทราบด้วย
  • พินัยกรรมแบบนี้คนที่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ เพราะโดยสภาพของร่างกาย หรืออาการป่วย ก็สามารถทำพินัยกรรมในแบบนี้ได้ ด้วยการลงลายพิมพ์นิ้วมือ เหมือนแบบพินัยกรรมธรรมดา โดยต้องมีพยานรับรองอย่างน้อยสองคน
  • หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ต้องลงลายมือชื่อโดยนายอำเภอ หรือนายทะเบียน ผู้ทำพินัยกรรม และพยาน (ครบ 3 ฝ่าย) กำกับในจุดที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วย
  • แบบพินัยกรรมพิเศษ คือ การทำพินัยกรรมด้วยวาจา ไม่ใช่หนังสือ เป็นรูปแบบพินัยกรรมที่กฎหมายให้เฉพาะ เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเท่านั้น โดยเหตุการณ์พิเศษ คือ บุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่น (แบบการเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ แบบพินัยกรรมฝ่ายเมือง แบบพินัยกรรมธรรมดา แบบพินัยกรรม(ลับ)) อาทิ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม เป็นต้น โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงการทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น และพยานสองคนต้องไปหานายอำเภอ หรือนายทะเบียนโดยเร็วที่สุดเพื่อแจ้งข้อความของผู้ทำพินัยกรรม และต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและเหตุการณ์พิเศษด้วย โดยนายอำเภอ หรือนายทะเบียน จะต้องจดข้อความ และให้พยานสองคนลงลายมือชื่อในเอกสารที่บันทึกข้อความ

ในพินัยกรรม กรรมของทายาท EP 2 – EP4 กล่าวถึงแบบพินัยกรรมตามกฎหมายไทยทั้งหมดแล้ว แต่ยังมีข้อกำหนดและข้อควรทราบอื่นที่จำเป็น เพื่อให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่เสียเปล่า โปรดติดตามในพินัยกรรม กรรมของทายาท EP 5 ต่อไป

You might also enjoy

ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน ep 2

หากสามีชาวต่างชาติสนใจซื้อที่ดินในประเทศไทย สามีชาวต่างชาติสามารถทำได้หรือไม่? เดิมประเทศไทยเคยให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินได้ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเคยผูกพัน แต่ภายหลังจากที่ประเทศไทยบอกเลิกสนธิสัญญากับต่างชาติไปเมื่อประมาณปี

share this post

Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

We strive to provide peace of mind, professionalism and price transparency

Your Preliminary legal orientation with us is free.